Whales in
น้ำหนักวาฬส่วนใหญ่เป็นค่าประเมิน โดยเฉพาะวาฬขนาดใหญ่มากๆ ที่ต้องใช้วิธีชั่งหรือวัดน้ำหนักอวัยวะทีละส่วน (จากซาก) และวาฬขนาดใหญ่เองก็แยกเป็นชนิดย่อยที่บางครั้งมีขนาดที่แตกต่างกันมาก ในขณะที่วาฬขนาดเล็กบางชนิดปัจจุบันยังมีข้อมูลไม่เพียงพอเนื่องจากพบตัวในธรรมชาติได้ยาก หรือไม่เคยได้ตัวอย่างขณะยังมีชีวิต ในที่นี้คือตัวเลขของน้ำหนักเฉลี่ยสูงสุดโดยประมาณ
Whales in
Balaenoptera
musculus (subp. brevicauda) (Ichihara, 1966)
วาฬสีน้ำเงินเล็กชนิดที่พบได้แถบทะเลเขตร้อนเป็นชนิดย่อยของวาฬสีน้ำเงิน (Blue Whale)
ที่ได้ชื่อว่าเป็นสัตว์ใหญ่ที่สุดในโลก (30-34 เมตร) นอกจากความต่างที่ขนาดจะเล็กกว่าวาฬสีน้ำเงินปกติแล้ว
สีผิวหนังจะมีความเข้ม (เทา-ฟ้าเข้ม) มากกว่า หางสั้นกว่า ส่วนหัวขนาดใหญ่และลำตัวเพรียวกว่ามาก
(รวมๆ แล้วดูคล้ายทรงลูกอ๊อด ลูกกบ) จึงอาจสับสนกับวาฬฟินหรือวาฬไซ ในประเทศไทยพบทางฝั่งอันดามัน
ได้ชื่อว่าเป็นวาฬรักสงบ
Whales in
Balaenoptera
physalus (Linnaeus,1758)
เป็นวาฬที่มีขนาดใหญ่รองลงมาจากวาฬสีน้ำเงิน จึงถือได้ว่าเป็นสัตว์ที่ใหญ่เป็นอันดับสองของโลก
แต่รูปร่างผอมเพรียวและมีความว่องไวปราดเปรียว (มีผู้เปรียบเทียบว่าเหมือนสุนัข
Greyhound) ลักษณะเด่นพิเศษคือสีของกรรไกรล่างไม่เหมือนกัน ด้านซ้ายมีสีเข้มเกือบดำ
ส่วนด้านขวาสีจางกว่าเกือบเป็นสีเทา
Whales in
Megaptera novaeangliae
(Borowski, 1781)
ครีบข้างที่ยาวมากเป็นเอกลักษณ์สำคัญ เป็นวาฬที่อยู่ได้ทั่วทุกน่านน้ำ และมีการย้ายถิ่นโดยหากินในเขตหนาว
ออกลูกในเขตร้อน ได้ชื่อว่าเป็น “วาฬนักร้อง” และมีระบบการสื่อสารด้วยเสียงที่มีเอกลักษณ์และซับซ้อนที่สุดซึ่งยังเป็นความลึกลับในโลกของนักวิจัยวาฬอยู่จนทุกวันนี้
เป็นวาฬขนาดใหญ่ที่มีพลังและกิจกรรมล้นเหลือ มีทั้งการกระโดด ยกหาง ตีหาง ถือเป็นขวัญใจของนักดูวาฬทั่วโลก
Whales in
Balaenoptera
edeni (Anderson, 1879)
จุดเด่นชัดเจนบ่งบอกสายพันธุ์และสังเกตได้ง่ายคือมีแนวสามสันบนหัว ตำแหน่งครีบหลังค่อนไปทางท้ายลำตัว
และครีบข้างเล็ก มักอาศัยประจำถิ่นและอยู่บริเวณชายฝั่ง เป็นวาฬชนิดที่มีรายงานการพบบ่อยที่สุดในปัจจุบันโดยเฉพาะบริเวณอ่าวไทย
จนได้รับการขนานนามเป็นสัตว์ประจำถิ่นของอ่าวไทย ไม่ชอบรวมฝูง แต่อาจมีบางครั้งที่พบมากถึง
10-20 ตัว ชื่อวาฬชนิดนี้ออกเสียงแตกต่างกันไปตามท้องถิ่น ต่างประเทศมักออกเสียงว่า
<บรู-ดุส หรือ บรูดส์>
Whales in
Balaenoptera
omurai (Wada, Oishi, and Yamada, 2003)
เหมือนบรูด้าราวกับพี่น้อง สามารถแยกแยะจากบรูด้าได้ง่ายด้วยการดูสันบนหัวที่โอมูระมีเพียงเส้นเดียว
(บรูด้ามี 3 สัน) และยังมีลักษณะคล้ายวาฬฟินราวกับคู่แฝด แต่มีขนาดเล็กกว่ามาก บางคนจึงเรียกว่าวาฬฟินแคระ
(ซึ่งที่จริงแล้วไม่ใช่ เป็นคนละชนิด) และมีความความแตกต่างจากฟินที่ชัดเจนคือสีที่ขากรรไกรล่างแตกต่างกัน
และจำนวนร่องใต้คางที่โอมูระมีมากกว่า เป็นวาฬที่พบเฉพาะในเขตร้อน
Whales in
Balaenoptera acutorostrata (Lacepede, 1804)
เป็นหนึ่งในชนิดย่อยของวาฬบาลีนขนาดเล็กสุด (Minke แบ่งย่อยออกเป็น 3 ประเภทตามขนาดและแหล่งที่อยู่
ได้แก่ Northern, Dwarf และ Arctic แต่ละชนิดมีลายลำตัวและลายครีบข้างที่ต่างกันด้วย)
รูปร่างยาวเพรียวแบบเดียวกับฟินและบรูด้า แต่มีจุดสังเกตเด่นที่ลายครีบข้างเป็นแถบสีขาวขนาดใหญ่คาดกลางครีบอย่างชัดเจน
(แต่มิงกี้ในมหาสมุทรแปซิฟิคแถบสีนี้จะออกเทาจางๆ ไม่เป็นสีขาวชัดเจนแบบมิงกี้ในมหาสมุทรแอตแลนติก)
แม้ได้ชื่อว่าเป็นวาฬขนาดเล็กสุดแต่ก็ไม่เสมอไป บางทีก็ใหญ่เท่าๆ กับวาฬบรูด้าได้เหมือนกัน
Whales in
Physeter macrocephalus (Linnaeus, 1758)
เป็นวาฬชนิดมีฟันที่มีขนาดใหญ่ที่สุด มีเอกลักษณ์ที่หัวสี่เหลี่ยมและรูหายใจเยื้องไปทางด้านซ้ายของหัว ส่วนของหัวที่มีขนาดใหญ่พิเศษบรรจุไขมันจำนวนมหาศาล ฟันมีเฉพาะที่ขากรรไกรล่าง ผิวหนังหนาสีน้ำตาล-เทาและมีรอยยับย่นขรุขระ สามารถพ่นของเหลวคล้ายหมึกใส่ศัตรูได้เพื่อหลบหนี และที่จริงแล้วเสียงของวาฬหัวทุยมีระดับความดังกว่าเสียงวาฬสีน้ำเงิน แต่เวลาที่ส่งเสียงออกมาสั้นมาก ดำน้ำได้ลึกมากถึงระดับ 2,000 ม. เป็นวาฬที่เป็นต้นแบบของเรือดำน้ำรุ่นแรกๆ ของโลก
Whales in
Orcinus orca (Linnaeus, 1758)
วาฬที่คนทุกเพศทุกวัยรู้จักกันดีในชื่อ “ออร์กา” มักถูกเรียกขานว่า “หมาป่าแห่งท้องทะเล” ด้วยพฤติกรรมการรวมกลุ่มและล่าเป็นฝูง แต่ถึงแม้จะมีชื่อเช่นนี้แต่วาฬเพชฌฆาตในธรรมชาติไม่มีประวัติทำร้ายคน มีเอกลักษณ์ที่สีขาวดำตัดกันชัดเจนของลำตัวและครีบหลังตั้งตรงสูงตระหง่าน มีถิ่นอาศัยแพร่กระจายทั่วโลก
Whales in
Ziphius cavirostris (G.Cuvier, 1823)
เป็นวาฬในกลุ่มฟันเขี้ยวที่พบได้บ่อยที่สุด ผิวหนังมีสีหลากหลายตั้งแต่เทาเข้มไปจนถึงน้ำตาลแดง ส่วนบริเวณหัวและท้องมีสีขาว มีรอยสีเข้มรอบดวงตา พบได้ในเกือบทุกน่านน้ำ ทั้งแบบอยู่ตัวเดียวหรือกลุ่มเล็ก มีโอกาสพบยากในธรรมชาติ มักจะเห็นเมื่อพากันมาเกยตื้น เพราะเป็นวาฬหากินในน้ำลึก และมักหลีกเลี่ยงเรือ ได้ชื่อว่าเป็นวาฬที่ดำน้ำได้นานและลึกที่สุด(ลึกกว่าวาฬหัวทุยที่เคยเชื่อกันว่าดำได้ลึกที่สุด)
Whales in
Pseudorca crassidens (Owen, 1846)
เป็นวาฬในกลุ่มสีดำสนิททั้งตัวขนาดกลางค่อนข้างเล็ก ชอบอยู่รวมฝูงและมีขนาดหลากหลายตั้งแต่ 10-100 ตัว ว่ายน้ำได้รวดเร็ว มีพฤติกรรมดุร้าย ตื่นตัว พลังสูง มักอยู่รวมฝูงกับโลมาปากขวดและโลมาชนิดอื่น แต่บางครั้งก็ล่าโลมาชนิดนั้นหรือลูกวาฬตัวเล็กๆ เป็นอาหาร อาศัยในน้ำลึกทั้งในเขตร้อนและเขตอบอุ่น
Whales in
Mesoplodon ginkgodens (Nishiwaki and Kamiya,1958)
เป็นวาฬกลุ่มฟันเขี้ยวที่พบเฉพาะน่านน้ำเขตร้อน ลักษณะลำตัวอ้วนกลมตัน ผิวสีเทา-น้ำเงินเข้มและมีจุดขาวใต้ท้อง ชื่อเรียกได้มาจากลักษณะฟันของตัวผู้ที่มีเอกลักษณ์พิเศษคือดูคล้ายใบกิงโกะของญี่ปุ่น(ใบแปะก๊วย) เป็นวาฬที่เรายังรู้จักน้อยมาก เพราะเป็นวาฬหากินน้ำลึก ไม่เข้าใกล้ฝั่ง ขี้อาย การโผล่พ้นน้ำก็น้อยมาก
Whales in
Globicephala macrorhynchus (Gray,1846)
เป็นวาฬชนิดหัวกลมมนและมีสีดำสนิททั้งตัวขนาดกลาง ฐานครีบหลังมีขนาดใหญ่กว่าวาฬเพชฌฆาตดำ และมีลักษณะครีบโค้งเว้ามากกว่า ได้ชื่อว่าเป็น “สัตว์สังคม” เพราะมักพบรวมกับกลุ่มกับโลมาปากขวด โลมาริซโซ และวาฬหัวทุย ชอบหากินกลางคืน การรวมฝูงมีตั้งแต่ 15-50 ตัว ไปจนถึง 100 ตัว
Whales in
Feresa attenuata (Gray, 1874)
เป็นวาฬในกลุ่มสีดำสนิททั้งตัวขนาดเล็ก ตัวตันแน่น หัวกลมมน ที่ริมฝีปากมีรอยขาวเป็นวง ชอบอยู่รวมฝูงประมาณ 15-50 ตัว (ถ้ารวมกลุ่มใหญ่กว่านี้มักจะเป็นวาฬเพชฌฆาตดำ) มีความสัมพันธ์ในฝูงที่เหนียวแน่นมาก ว่ากันว่าสมควรได้รับฉายา “นักฆ่า (killer)” มากกว่าออร์กา เพราะดุร้ายกว่าเมื่อเผชิญหน้ามนุษย์หรือวาฬด้วยกัน พบได้ทั่วไปในน่านน้ำเขตร้อน
Whales in
Mesoplodon densirostris (Blainville, 1817)
เป็นวาฬกลุ่มฟันเขี้ยวขนาดกลางที่รูปร่างคล้ายโลมา สีลำตัวส่วนใหญ่เป็นน้ำตาล หรือสีฟ้าเทา และท้องด้านล่างสีเทาอ่อน ที่ปากและฟันมีเอกลักษณ์พิเศษ โดยครึ่งหลังของขากรรไกรล่างจะยกสูงเป็นสัน และในเพศผู้จะมีฟันขนาดใหญ่ 1 คู่ เอียงไปข้างหน้า แต่ฟันเหล่านี้ไม่เหมาะสำหรับกัดหรือเคี้ยว มักอาศัยอยู่ที่ความลึกระดับ 200-1,000 เมตร พบได้ทั้งกลุ่มเล็กๆ และใหญ่ (2-4 ไปจนถึง 10-12) เวลาขึ้นสู่ผิวน้ำจะทำอย่างค่อยๆ น้ำจะกระจายนิดเดียว
Whales in
Kogia breviceps (Blainville, 1838)
ญาติผู้น้องที่มีหัวลักษณะเป็นเหลี่ยมคล้ายวาฬหัวทุยและมีรูหายใจที่เยื้องไปทางซ้ายคล้ายกัน แต่ขนาดและรูปร่างเล็กกว่าแบบคนละขั้ว เพราะอยู่ในกลุ่มวาฬขนาดเล็กสุดจนคนมักนึกว่าเป็นฉลามจากลักษณะด้านข้างของหัวที่มีลายคล้ายแผ่นปิดเหงือกและขากรรไกรล่างที่เล็กแคบคล้ายฉลาม รวมทั้งมีฟันที่แหลมคมเหมือนเขี้ยว ที่ยื่นออกมาเฉพาะขากรรไกรล่างเท่านั้น พบได้ทั้งเดี่ยวและกลุ่มขนาดเล็ก มักพบวันแดดจ้า ชอบลอยตัวนิ่งๆ เหนือน้ำเป็นฝูง เมื่อตกใจอาจพ่นของเหลวสีน้ำตาลแดงออกมาได้เช่นกัน คนมักสับสนกับวาฬหัวทุยแคระ จุดสังเกตให้ดูที่ครีบหลัง ของวาฬหัวทุยเล็กจะมีขนาดเล็กกว่าและลักษณะครีบกลมมนกว่า
Whales in
Kogia sima (Owen, 1866)
คู่แฝดของวาฬหัวทุยเล็ก แต่มีขนาดเล็กกว่าและมีครีบหลังที่ใหญ่และเป็นทรงสามเหลี่ยมมากกว่า บางครั้งพบฟันแหลมคมยื่นออกมาทั้งด้านบนและล่าง มักอยู่โดดเดี่ยวหรือฝูงเล็กๆ (10 ตัว) เมื่อตกใจหรือหนีอาจพ่นของเหลวสีน้ำตาลแดงออกมาแบบเดียวกับหมึก
Whales in
Peponocephala electra (Gray, 1846)
คนมักเข้าใจผิดกับวาฬเพชฌฆาตเล็ก (Pygmy Killer Whale) ให้สังเกตที่หัวซึ่งแม้จะกลมมนเหมือนกัน แต่มีความลาดมากกว่าและปากจะแหลมกว่า มีวงดำรอบริมฝีปาก สีผิวเทาเข้มกว่าหรือเกือบดำทั้งตัว และรูปร่างเพรียวกว่า มีลายสีเทาจางจัดขนาดใหญ่กว่าตัดกับผิวสีดำ มักรวมฝูงกลุ่มใหญ่ มีความคล่องตัวและว่ายได้โดยน้ำแทบไม่กระเพื่อมเมื่อต้องหลบหลีกภัย